โครงสร้างของละคร

 

anigif

โครงสร้างของละครนั้น จะต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้คือ

1โครงเรื่อง ( Plot)  4W+H คือ ใคร ( who )  ทำอะไร ( what )  ที่ไหน (where )  เมื่อไหร่

( when )  อย่างไร ( how )

2.ตัวละครและวิธีสร้างตัวละคร ( Character and Characterization )

3. บทเจรจา ( Dialogue)

4.ฉาก ( Setting )

5. แนวคิดของเรื่อง ( Theme )แนวคิดของละครนั้นมีหลายแนว เช่น การช่วยเปลื้องทุกข์  การวิงวอน  อาชญากรรมที่มีการแก้แค้น  การติดตาม  การแข็งข้อ หรือกบฏ  ปัญหาชีวิต  การพาหนีโดยใช้กำลังหรืออุบาย  การฆาตกรรม  การพลีชีพเพื่อชาติ เพื่ออุดมคติ เพื่อญาติ เพื่อความรัก ความสำนึกผิด  การแข่งขันระหว่างฐานะที่สูงและต่ำต้อย  ความอิจฉาริษยา หึงหวง ความหลงการสูญเสียความรัก ยศถาบรรดาศักดิ์ ความร่ำรวย  คนที่สาปสูญกลับมา

6.การแสดง( Action )

1. บทละครแนวประวัติศาสตร์ เป็น บทละครที่แสดงเรื่องราวในอดีต เช่น ประวัติบุคคล ประวัติเหตุการณ์ในสมัยต่างๆ

     2. บทละครแนวปรัชญาชีวิต เป็นบทละครที่แสดงเรื่องราวในอดีตหรือปัจจุบันที่เน้นความคิดของมนุษย์ในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง
     3. บทละครแนวชี้นำหรือสะท้อนสังคม เป็นบทละครที่แสดงเรื่องราวอันเป็นปัญหาสังคม ซึ่งเป็นผลกระทบรุนแรงต่อบุคคลหรือชุมชน เช่นปัญหาความยากจน โสเภณีเด็ก เป็นต้น บทละครเหล่านี้มักไม่มีคำตอบหรือทางออกที่ชัดเจนให้ตัวละครซึ่งตกอยู่ในปัญหานั้น แต่มักเสนอแนวคิดให้ทุกฝ่ายร่วมกันป้องกัน
     4. บทละครแนวจินตนาการ เป็น บทละครที่แสดงจินตนาการอันสร้างสรรค์ในเชิงศิลปะของมนุษยชาติ ตัวละคร เหตุการณ์ สถานที่ ล้วนเป็นจินตนาการของกวีที่มุ่งแสดงพลังแห่งจินตนาการอันไม่มีขีดจำกัด ในทางวรรณศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และนาฏศิลป์ ตามความแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ความตระการตา เหล่านี้เป็นสิ่งธรรมดาและยอมรับได้ อาทิ เทพนิยาย เรื่องจักรๆวงศ์ๆ เรื่องวิทยาศาสตร์เป็นต้นอย่างไรก็ดีวัตถุประสงค์ของบทละครดังกล่าวนี้มิได้แยกออกจากกันโดยเด็ดขาดเพียงแต่บทละครแต่ละเรื่องเน้นสาระสำคัญต่างแนวกัน

การเขียนบทละครมีโครงสร้างอย่างเดียวกับการเขียนเรื่องสั้น คือ มีความสำคัญอันเป็นแกนของเรื่อง มีเค้าโครงเรื่อง มีตัวละคร บทสนทนา และฉาก   การเขียนเรื่องสั้นทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินจากการอ่าน   แต่งบทละคร เป็นศิลปะที่จะนำไปแสดงเพื่อให้คนได้ชม แล้วเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

http://nutthapol.multiply.com/journal/item/7

 

ใส่ความเห็น