เทคนิคการเขียนบทละคร


home_pic011.jpg

การสร้างบทละครนั้นเป็นความสามารถที่ต้องอาศัยทักษะและความคิดสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก แต่บุคคลหลายคนก็สามารถจะเขียนบทละครได้ แม้แต่ตัวผู้เรียนเอง หรือศิลปินในท้องถิ่นก็สามารถสร้างบทละครที่มีคุณภาพโดยสะท้อนความคิด ศิลปะ และวิถีชีวิตของท้องถิ่นได้เช่นกัน ละครจึงเป็นกิจกรรมที่ไม่มีกฎเกณฑ์เฉพาะตายตัว อาทิ ดนตรีประกอบการแสดง อาจเป็นดนตรีพื้นบ้านเพียงชิ้นเดียว เช่น ขลุ่ย แคน หรือเพลงที่ผู้เขียนชอบนำมาประกอบการเล่าเรื่องก็ได้ ละครจึงเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ทำงานร่วมกัน สามารถทดลองค้นคว้าหาเรื่องราวที่น่าสนใจมานำเสนอต่อผู้ชมอยู่ใหม่ ๆ ได้เสมอ

เทคนิคการเขียนบทละคร ในที่นี้หมายถึง การเขียนบทละครให้มีปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการแสดงได้ ปัจจัยในการเขียนที่สำคัญ ประการ คือ

    1. การแบ่งขั้นตอนของโครงเรื่องออกให้ชัดเจนว่า เรื่องดำเนินจากจุดเริ่มต้นแล้วเข้มข้นขึ้น และคลี่คลายไปสู่จุดจบอย่างไร
          1.1 การเริ่มเรื่อง เป็นการแนะนำผู้ดูให้เข้าใจความเดิมและตัวละครสำคัญในเรื่อง
          1.2 การขยายเรื่อง เป็นการดำเนินเรื่องให้เห็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น แสดงพฤติกรรมของตัวละครต่างๆ ตามที่กำหนดไว้
          1.3 การพัฒนาเรื่อง เป็นการแสดงความขัดแย้งขอตัวละครในเรื่อง ทำให้การแสดงเกิดความเข้มข้นขึ้น
          1.4 เป็นการที่ที่พระเอกตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ล่อแหลม ถึงขั้นต้องมีการตัดสินใจกระทำบางการบางประการให้เด็ดขาดลงไป
          1.5 การสรุปเรื่อง หรือการดำเนินเรื่องไปสู่จุดจบบริบูรณ์

     2. การแบ่งเรื่องออกเป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อสถานะการณ์ต่างๆ ในแต่ละตอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์โดยแบ่งได้ ประการคือ
          2.1 แสดงความปรารถนาของตัวละคร
          2.2 รักษาความต่อเนื่องของเนื้อเรื่องโดยไม่ทำลายวัตถุประสงค์หลักของเรื่อง
          2.3 ทำให้การดำเนินเรื่องแต่ละตอนประทับใจ
          2.4 สอนเงื่อนงำไว้ในกาละเทศะที่สมควร
          2.5 บรรจุปัจจัยที่ทำให้เกิดความประหลาดใจ
          2.6 เปิดเผยสิ่งต่างๆที่ควรเปิดเผยในกาละเทศะที่สมควร

     3. ลักษณะ คือ กลวิธีในการนำฉันทลักษณ์ต่างๆ มาใช้ในการแสดงออกของสถานะการณ์และความคิดของลักษณะมี 36 วิธี ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าสำนวนที่จะนำมาประพันธ์เป็นบทบรรยายและบทเจรจา ต้องคำนึงถึง
          3.1 พื้นเพของตัวละคร
          3.2 ความรู้สึกที่ต้องการให้เกิดกับคนดู
          3.3 ความแจ่มแจ้งของสาระในเรื่องที่ต้องการถ่ายทอดให้คนดูเข้าใจ
          3.4 ความสัมพันธ์กับลักษณะของคนตรีและทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง

การเขียนบทละคร อาจเขียนจบฉากเดียวหรือหลายฉากก็ได้ เรียกตอนหนึ่งๆว่าองก์ ก็ได้

ฉาก   บอกให้ทราบสถานที่ชัดเจน เช่น ในป่าลึก หาดทราย ในบ้าน หรือในห้อง บอกเวลาในขณะนั้นด้วย
ตัวละคร  บอกเพศ ชื่อและชื่อสกุล อายุรูปร่างลักษณะ
การบรรยายนำเรื่องเพื่อสร้างบรรยากาศ   ในกรณีเป็นเรื่องยาวควรมีอย่างยิ่ง แต่ถ้าเป็นเรื่องสั้นอาจไม่จำเป็น
บทสนทนา   มีความสำคัญมาก เพราะการดำเนินเรื่องอยู่ที่การสนทนาของตัวละครใช้ภาษาพูดให้เหมือนชีวิตจริงๆ ควรเป็นประโยคสั้นๆเข้าใจง่าย อาจแทรกอารมณ์ขันลวไป จะทำให้เรื่องออกรสยิ่งขึ้น
ตอนจบ   ต้องจบอย่างมีเหตุผล จบอย่างมีความสุข หรือเศร้า หรือจบลงเฉยๆด้วยการทิ้งท้ายคำพูดให้ผู้ชมคิดเอง อาจเป็นถ้อยคำประทับใจเหมือนละลอกคลื่นที่ยังคงพริ้วกระทบฝั่ง หลังจากได้ทิ้งก้อนหินลงไปเมื่อครู่ใหญ่ๆ                                                    การขึ้นต้นและการจบเรื่อง เป็นลีลาและศิลปะของผู้เขียนโดยเฉพาะที่จะทำให้ผู้ชมพอใจ แต่เมื่อจบแล้วต้องให้เข้าใจเรื่องโดยตลอด

ใส่ความเห็น